Welcome to Eco Building experience
Welcome at DinDang
Projects and workshops
Voluntary work
Meet the people
Links
Location
Calendar
Contact
Guestbook
Contact us
ภาษาไทย (Thai version)
=> "ดินแดง" ศูนย์เรียนรู้บ้านธรรมชาติ
=> แผนการทำงาน
=> ตารางกิจกรรม ปี 2008
=> วิธีและขั้นตอนการสร้างบ้านด้วยดิน
Polls
Home stay at DinDang
Photo album/Video
DinDang's news
วิธีและขั้นตอนการสร้างบ้านด้วยดิน

เรียนรู้ดิน

ดินที่เหมาะสมในการสร้างบ้านที่ดีคือมีส่วนผสมของดินและทรายอย่างละครึ่ง เราต้องทำการสังเกตดินที่จะนำมาทำนั้นว่าเหมาะสมหรือไม่เพราะถ้าหากดินมีส่วนผสมของดินเหนียวมากเกินไปจะแตกในเวลาที่แห้งและถ้าหากมีทรายมากเกินไปจะทำให้ไม่แน่นและร่นเมื่อแห้ง การเลือกดินให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก วิธีการทดสอบดินว่าเหมาะสมหรือไม่นั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่นนำดินใส่ในแก้วที่มีน้ำ เติมเกลือหนึ่งช้อนและคนให้เข้ากัน ทิ้งไว้สักพักหนึ่งแล้วสังเกตว่าระดับดินกับทรายมีเท่ากันหรือไม่ หรือจะเป็นวิธีอีกอย่างคือ ปั้นดินให้แบนแล้วตากแดด เมื่อแห้งแล้วแตกแปลว่าดินนั้นใช้ไม่ได้เพราะมีส่วนผสมของดินเหนียวมากเกินไปถ้าจะใช้ต้องผสมทรายลงไปก่อน สีของดินยังมีความหลากหลาย เราสามารถนำมาตกแต่งบ้านดินตามที่ต้องการได้.

สถานที่

การเลือกสถานที่สร้างบ้านดินเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ไม่ควรสร้างบ้านดินในที่ลุ่มหรือพื้นที่แฉะน้ำเพราะดินจะดูดซับน้ำและอ่อนตัวพังลงมาได้ การสร้างบ้านดินในพื้นที่ลุ่มควรเตรียมพร้อมโดยขุดร่องน้ำรอบตัวบ้านเพื่อกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้ามา หลายพื้นที่มีปริมาณฝนตกชุกผู้สร้างควรคำนึงถึงพื้นที่ในการทำอิฐดิน และจัดเก็บที่เพียงพอ เพราะอิฐดินต้องการพื้นที่เยอะเวลาพึ่งแดดและเก็บที่ร่มเมื่อเกิดฝนตก.

 

รูปแบบและแผนการสร้าง

ก่อนที่จะลงมือสร้างเราต้องวางรูปแบบโครงสร้างบ้านหรืออาคารโดยคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสมต่อการใช้งานหรือคำนึงถึงลักษณะพื้นที่ใช้สอย โดยรูปแบบอาคารที่ไม่ซับซ้อนเกินไปเพราะจะทำให้การสร้างเป็นเรื่องยากขึ้น ควรวางแผนขั้นตอนในการสร้าง เช่นในพื้นที่ฝนตกชุกการทำอิฐดินนั้นค่อนข้างยากจึงเริ่มต้นด้วยโครงสร้างเสาและมุงหลังคาก่อนแล้วจึงสามารถก่อหรือปั้นดินในส่วนอื่นได้เมื่อฝนตก.

วัสดุที่เหมาะสม

ดินจะมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นเมื่อมีส่วนผสมเป็นเส้นใยที่ช่วยทำให้ดินไม่แตกหักง่าย วัสดุที่สามารถหาได้ใกล้ๆและนิยมนำมาผสม เช่น เกลบ หญ้า ฟาง หรือ ใบหมาก เป็นต้น วัสดุเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะหาได้จากในชุมชนเอง ทรัพยากรอื่นๆที่สามารถนำมาผสมได้นั้นขึ้นอยู่ตามสภาพพื้นที่แต่ควรจะเป็นวัสดุที่ไม่แข็งหรือแหลมคมเพราะอาจจะบาดมือเวลาที่ทำได้

เครื่องมือหรืออุปกรณ์

เครื่องมือที่จำเป็นในการทำบ้านดินนับว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการสร้างบ้านด้วยปูนซีเมนต์ เพราะผู้สร้างส่วนใหญ่ต้องการลงมือทำเอง และคำนึงถึงการพึ่งตนเองเป็นหลัก ด้วยรูปแบบที่กะทัดรัดและเน้นการใช้สอยเป็นสำคัญเครื่องมือหรืออุปกรณ์จึงไม่ซับซ้อนมาก ผู้สร้างควรคำนึงและเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นไว้ให้เรียบร้อย เช่น จอบ,ถังน้ำ,ค้อน,ปล๊อคอิฐดิน,เชือก เป็นต้น.

แรงบันดาลใจและแรงงาน

บ้านดินแต่ละหลังจะสำเร็จได้ต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมากเพราะเริ่มต้นด้วยความเชื่อว่าบ้านดินคือทางเลือกในการสร้าง สามารถอยู่ได้จริง ประหยัดงบประมาณได้ และเราสามารถสร้างได้เอง หลังจากที่ทำการสร้างหลายคนอาจจะท้อเพราะเหนื่อย หรือเจออุปสัคระหว่างทำการสร้าง การสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองจึงมีความสำคัญไม่แพ้อย่างอื่นเลย ตัวอย่างเช่น การให้คนอื่นเข้ามีส่วนร่วมในการช่วยและสร้างประเด็นพูดคุยเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการสร้างบ้านด้วยวัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุที่สามารถนำมาทำได้ เป็นการเรียนรู้เพิ่มเติมใหม่แก่ผู้สร้างเอง เป็นต้น.

 

What are we doing?
DinDang and Volunteers are working hard to completed the second small clay house and a kitchen. You can follow the work we have done by checking the site ;)
**************************
DinDang's video shows the techniques we used in the year 2008.
Please check it out on the photo and video link tab!!
Today, there have been 18 visitors (25 hits) on this page!
P.O. Box 7, Phato Postoffice, Phato district, Chumphon Province, Thailand, 86180 This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free